จงตอบคำถามด้วยคำหรือข้อความสั้น ๆ
1.
สมัยที่ใครดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่มีจำนวนทหารอเมริกันในเวียดนามมากที่สุด ลินดอน บี.จอห์นสัน
2.
ผู้นำเวียดนามที่นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ คือใคร โฮจิมินท์
3.
ชาวอเมริกันส่วนใหญ่มีความคิดอย่างไรจึงต่อต้านการส่งทหารอเมริกันไปร่วมรบในสงครามเวียดนาม คิดว่าเป็นสมรภูมิไกลบ้านและเป็นสงครามกลางเมืองที่ชาวเวียดนาต้องแก้ปัญหาเอง
4. การถอนทหารอเมริกันออกจากเวียดนามเริ่มขึ้นในสมัยที่ใครดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ริชาร์ด เอ็ม. นิกสัน
5.
ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาผู้ประกาศนโยบายการพึ่งพาตนเองของชาวเวียดนาม (Vietnamization)คือใคร ริชาร์ด เอ็ม.
นินสัน
6.
การเจรจาเพื่อยุติสงครามเวียดนามครั้งแรกจัดขึ้นที่ใด กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
7.
หลังจากที่สหรัฐอเมริกาถอนทหารออกจากเวียดนามแล้วเกิดความเปลี่ยนแปลงในเวียดนามอย่างไร
เวียดนามเหนือบุกเวียดนามใต้และรวมเป็นประเทศเดียวกันสำเร็จ
8.
เวียดนามเหนือรวมกับเวียดนามได้โดยวิธีใด
เวียดนามเหนือใช้กำลังเข้ายึด
9.
ประเทศไทยเริ่มมีสัมพันธ์กับประเทศสหรัฐอเมริกาในสมัยราชาวงค์อะไร ราชวงศ์จักรี
10. กัปตันเฮลชาวอเมริกันเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยในรัชสมัยใด พระพุทธเลิศหล้านภาลัย
รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
11. หมอบรัดเลย์ มิชชันนารีชาวอเมริกัน
สร้างผลงานด้านใดไว้ในประเทศไทย การแพทย์และการพิมพ์
12.
ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนแรกที่ส่งทูตพาณิชย์เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทย
คือใคร แอนดูรว์ แจ๊กสัน
13. ทูตจากสหรัฐอเมริกาที่ส่งมาติดต่อกับไทยในสมัยรัชกาลที่ 3
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ชื่อว่าอะไร โจเชฟ
บัลเลสเตียร์
14. เมื่อรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
มีพระราชประสงค์จะมอบช้างให้แก่ประธานาธิบดีอับราลัมลินคอน์น
ไว้ใช้ขนส่งในช่วงสงครามกลางเมืองแต่ได้รับการตอบปฏิเสธอย่างนุ่มนวลว่าอย่างไร อากาศในสหรัฐอเมริกาหนาวเกินไปสำหรับช้าง
15. เจมส์ ไอ. เวสเดนการ์ด ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินไทยชาวอเมริกา
ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ว่าอะไร พระยากัลยาณไมตรี
16. บรรดาศักดิ์ที่ พระยากัลยณไมตรี
ซึ่งพระมหากษัตริย์ไทยทรงพระราชทานแก่ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินไทยชาวอเมริกัน ได้แก่
ใครบ้าง เจมส์ ไอ. เวสเตนการ์ด และ ฟรานซิส บี. แชร์
17.
ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่เดินทางมาเยือนประเทศไทยขณะดำรงตำแหน่งมี 3 คน ได้แก่
ใครบ้าง 1. ลินดอน บี. จอห์นสัน 2. ริชาร์ด เอ็ม. นิกสัน 3. บิล คลินตัน
18. โครงการที่สหรัฐอเมริกาให้ทุนแก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของไทยไปศึกษาที่สหรัฐอเมริกาเป็นเวลา
1 ปี เรียกว่าทุนอะไร AFS
: American Field Service
19. ชาวอเมริกันที่ได้รับการคัดเลือกจากรัฐบาลอเมริกันให้มาช่วยสอนภาษาอังกฤษและพัฒนาชนบทในประเทศไทย
เรียกว่าอะไร อาสาสมัครสันติภาพ (Peace Corps)
20. ประเทศไทยจ่ายเงินซื้อสินค้าจากสหรัฐอเมริกาเพื่อใช้ในกิจการด้านใดมากที่สุด การทหาร
พัฒนาความคิด
จงตอบคำถามต่อไปนี้ตามความคิดเห็นของนักเรียนเอง
1.
สหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญกับประเทศไทยน้อยกว่าญี่ปุ่นและเกาหลีใต้จริงหรือไม่
เพราะเหตุใด
แนวตอบ เป็นความจริงที่สหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญกับประเทศไทยน้อยกว่าญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เนื่องจากเหตุผลต่อไปนี้
1.เกาหลีใต้และญี่ปุ่นเคยอยู่ใต้การปกครองของสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ระยะที่สงครามโลกครั้งที่
2 สิ้นสุดลงใหม่ ๆ และแม้ปัจจุบันประเทศเหล่านี้จะมีเอกราชสมบูรณ์แล้ว แต่สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นผู้วางรากฐานทางด้านการปกครองและเศรษฐกิจยังให้ความสำคัญอยู่
2.นักลงทุนชาวอเมริกันไปลงทุนในเกาหลีใต้และญี่ปุ่นมากกว่าไทย
ขณะเดียวกันชาวเกาหลีใต้และญี่ปุ่นเข้าไปอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกามากกว่าคนไทย ความผูกพันของเกาหลีใต้และญี่ปุ่นกับสหรัฐอเมริกาจึงมีมากกว่าไทยทั้งด้านเศรษฐกิจและประชากร
3.เกาหลีใต้และญี่ปุ่นอยู่ใกล้จีน
ซึ่งมีลัทธิการเมืองการปกครองตรงกับข้ามกับสหรัฐอเมริกา
เกาหลีใต้และญี่ปุ่นจึงเป็นรัฐกันชนของสหรัฐอเมริกา โดยสหรัฐมีฐานทัพอยู่ใน 2 ประเทศนี้ขณะที่สหรัฐไม่มีฐานทัพอยู่ในประเทศไทย
สหรัฐอเมริกาจึงต้องให้ความสนใจเกาหลีและญี่ปุ่นมากกว่าไทยในฐานะที่ 2
ประเทศนี้เป็นแหล่งยุทธศาสตร์การทหาร
2.
รัฐบาลไทยในระยะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ทุกสมัยต่างดำเนินนโยบายคล้อยตามอเมริกา (pro-
American) เสมอมา
นักเรียนเห็นว่าดีและถูกต้อหรือไม่ อย่างไร
แนวตอบ
เห็นว่ารัฐบาลไทยทุกสมัยที่ดำเนินนโยบายคล้อมตามอเมริกานั้นดีและถูกต้องแล้ว
เนื่องจากระยะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้วโลกแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
ฝ่ายคอมมิวนิสต์ มีสหภาพโซเวียตเป็นผู้นำ และฝ่ายเสรีประชาธิปไตย
มีสหรัฐอเมริกาเปนผู้นำ
การดำเนินนโยบายแบบเสรีประชาธิปไตยของรัฐบาลไทยที่คล้อยตามสหรัฐอเมริกา
ทำให้ประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้าตลอดมา ประชาชนชาวไทยมีสิทธิเสรีภาพมาก
และมีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ส่วนประเทศที่ดำเนินนโยบายคล้อยตามสหภาพโซเวียต กลับมีความล้าหลังและประชาชนโดยไม่มีสิทธิเสรีภาพเท่าที่ควร
เช่น ลาว กัมพูชา เวียตนาม
ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านของไทยกระทั้งถึงช่วงที่สหภาพโซเวียตล่มสลาย
ประเทศเหล่านี้ จึงมีโอกาสเป็นตัวของตัวเอง
แล้วหันมาพัฒนาระบอบการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมขึ้น
ขณะที่ประเทศไทยที่คล้อย ตามสหรัฐอเมริกามาก่อน จึงมีความเจริญก้าวหน้ากว่า
อัตนัย จงตอบคำถามต่อไปนี้
1.
ในระยะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
สหรัฐอเมริกาดำเนินการสกัดกั้นการขยายอำนาจของสหภาพโซเวียต
อย่างไร
แนวตอบ สหรัฐอเมริกาดำเนินการเพื่อสกัดกั้นการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียตในระยะหลังที่สงครามโลกครั้งที่
2 ยุติลง ดังนี้
1.ใช้ลัทธิทรูแมน
(The Truman Doctrine) เพื่อสกัดกั้นคอมมิวนิสต์
โดยให้เงินช่วยเหลือประเทศในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ช่วยเหลือกรีซ 300 ล้านดอลลาร์ และตุรกี 100 ล้านดอลลาร์
2.ใช้แผนการมาร์แชล (Marshall
Plan 1984) เพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูประเทศในทวีปยุโรปเป็นเงิน 13
พันล้านดอลลอร์ เพื่อสกัดกั้นและปิดล้อมคอมมิวนิสต์
3.ให้ความช่วยเหลือแก่เบอร์ลินที่ถูกปิดล้อม
เพราะสหภาพโซเวียตห้ามการเดินทางเข้าสู้เบอร์ลินโดยสิ้นเชิง
สหรัฐอเมริกาและอังกฤษจึงต้องร่วมกันให้ความร่วมมือกันให้ความช่วยเหลือชาวเบอร์ลินโดยลำเลียง
อาหาร ยา และสิ่งจำเป็นอื่น ๆ เข้าสู้เบอร์ลิน โดยการขนส่งทางอากาศ
4.การจัดตั้งสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ
(NATO) โดยรวบรวมประเทศสมาชิกในทวีปยุโรป จัดทำสัญญาพันธมิตรทางทหารเป็นเวลา
50 ปี เพื่อช่วยเหลือประเทศสมาชิกที่ถูกรถกรานหรือถูกบ่อนทำลายจากประเทศอื่น
2.
ไทยและสหรัฐอเมริกามีความสัมพันธ์กันทางด้านใดบ้าง
ยกตัวอย่างและอธิบายประกอบพอเข้าใจ
แนวตอบ
ไทยและสหรัฐอเมริกามีความสัมพันธ์อันดีและใกล้ชิดอย่างยิ่ง อาจจำแนกเป็นต้น
ๆ ได้ ดังนี้
1.การศึกษาและวัฒนธรรม
สหรัฐอเมริกาเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาของโลก
ระบบการศึกษาของไทยจึงลอกเลียนมาจากสหรัฐอเมริกา
โดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกาและรัฐบาลไทยได้ให้ทุนแก่นักศึกษาไทยหลายโครงการเพื่อไปศึกษาต่อในสหรัฐอเมริกาและสหรัฐอเมริกาได้ส่งอาสาสมัครหน่วยสันติภาพ
มาช่วยสอนภาษาอังกฤษและพัฒนาประเทศไทยทุกปี
2.การค้าขาย
สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดการค้าลำดับ 1 ของประเทศไทย
และไทยก็สั่งสินค้าเข้ามาจากสหรัฐอเมริกาปีละมาก ๆ โดยเฉพาะอาวุธยุทโธปกรณ์
3.การทหารและการทูต
สหรัฐอเมริกาและไทยมีความร่วมมือกันทางทหารหลายโครงการเช่น
การให้ทุนแก่ทหารไทยไปศึกษาและดูงานในสถาบันทหารของประเทศสหรัฐอเมริกา
การฝึกรบร่วมกันการส่งทหารมาเยือนเพื่อการมีสัมพันธ์อันดี นอกจากนี้ ผู้นำของทั้ง
2 ประเทศต่างมีการเดินทางไปเยี่ยมเยือนกันเสมอ